วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เสื้อแดงโมเดลต้มยำกุ้งมิติใหม่

เสื้อแดงโมเดลต้มยำกุ้งมิติใหม่
เวทย์ เธียรธโนปจัย
วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นวิกฤตการเงินที่เริ่มในประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้ประกาศใช้ระบบค่าเงินบาทแบบลอยตัว ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก และกิจการหลายกิจการต้องปิดตัวลงหรือล้มละลายและส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลาดหลักทรัพย์ และราคาสินทรัพย์อื่น ๆ ในประเทศรวมทั้งในทวีปเอเชียหลายประเทศ
เงินบาท ลอยตัว คือ กลยุทธ์ หนึ่งของรัฐในการจัดการระบบการเงิน ซึ่งแต่ก่อน ไทยใช้แบบ ผูกกับตระกล้าเงิน ต่างประเทศ โดยใช้ทุนสำรองหนุน เช่น ผูกไว้ว่า ให้ 1USD ต่อ 25บาท +- ได้ไม่เกิน 0.5 บาท ซึ่งอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ในกลไก ระดับ มหาภาค แต่จะดี กับผู้ส่งออก ทำให้ไม่มีความเสี่ยง ในการรับเงิน และนำมาแลกเงิน ทำให้ประมาณ การต้นทุนขายได้ว่า จะเป็นเท่าไร เพราะมัน ค่อนข้างตายตัว แต่เงิน บาทเราหรือเงิน ประเทศใดก็ตามจะผลิตออกมาได้ จะต้องมี ทองคำ หนุนหลังอยู่ และเอาทองคำไปเก็บไว้ที่ ธนาคารโลก เพื่อเป็นหลักประกัน ภายใต้สมมุติฐานว่า เมื่อวันสิ้นโลก ทุกคนในแต่ละประเทศของตนจะเอาเงินไปแลกเป็น ทองคำได้ตามส่วน เงินของประเทศตนเอง
ธปท. ต้องการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับดังกล่าว โดยในช่วงก่อนการลอยตัวไม่กี่เดือน เงินตราต่างประเทศและเงินดอลลาร์ ที่ไหลเข้าไทยมีน้อยลง เมื่อเทียบกับเงินที่ไหลออกจำนวนมาก ทำให้ ธปท.มีความจำเป็นต้องนำดอลลาร์ในทุนสำรองของประเทศ ซึ่งในขณะนั้นมีประมาณ 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ออกมาขายในท้องตลาดผ่านธนาคารพาณิชย์ เพราะ ถ้าไม่ทำเช่นนั้น เงินดอลลาร์ในท้องตลาดจะขาดแคลน และเมื่อขาดแคลนก็จะมีราคาสูงขึ้นตามกลไกตลาด มาอยู่ที่ระดับ 30 บาท 33 บาท หรือ 36 บาท
แต่เมื่ออยู่ในระบบตะกร้าเงินธปท.จึงต้องขายดอลลาร์ออกมาเพื่อให้ค่าดอลลาร์หรือเงินบาทยืนอยู่ในระดับ ใกล้เคียงกับ 26 บาทต่อดอลลาร์ ในที่สุดก็ไม่มีทุนสำรองเหลือพอที่จะเอาออกมาขายเพื่ออุ้มค่าเงินบาทได้ จึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเปลี่ยนไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนระบบลอยตัว หรือปล่อยให้เป็นไปตามกลไก การตลาดระดับโลก
วิกฤตต้มยำกุ้งยังได้ส่งผลกระทบต่อไปถึงสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดวิกฤต Hamburgers Crisis ขึ้นอีก วิกฤตการเงินโลกที่ก่อตัวขึ้นหลังจากติดเชื้อต้มยำกุ้งของประเทศไทย กลายเป็น แฮมเบอร์เกอร์ ไคลซิส ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมาจนถึงจุดระเบิดใหญ่ เมื่อสองปีที่แล้วมาจนถึงปัจจุบัน
วิกฤติครั้งนี้เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกาแตก และการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ผู้กู้ยืมนั้นกู้ยืมสินเชื่อที่เกินกำลังโดยคิดว่าตนจะสามารถปรับโครงสร้างเงินกู้ได้โดยง่าย เพราะในตลาดการเงินนั้นมีมาตรฐานการปล่อยกู้ที่ต่ำลง ผู้ปล่อยกู้เสนอข้อจูงใจในการกู้ยืม เช่นเงื่อนไขเบื้องต้นง่าย ๆ และแนวโน้มราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทว่าการปรับโครงสร้างเงินกู้กลับเป็นไปได้ยากขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้นและราคาบ้านเริ่มต่ำลงในปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ในหลายพื้นที่ในสหรัฐ การผิดชำระหนี้และการยึดทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหมดเงื่อนไขเบื้องต้นอย่างง่าย ราคาบ้านไม่สูงขึ้นอย่างที่คิด และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มสูงขึ้น การยึดทรัพย์สินในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549 และทำให้ปัญหาทางการเงินนั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551
ภาคการเงินเริ่มรับรู้ถึงผลของวิกฤติในครั้งนี้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ด้วยการขาดทุนถึง 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์ของเอชเอสบีซี ซึ่งเป็นประกาศแรกของการขาดทุนจากซีดีโอหรือเอ็มบีโอตลอดปี 2550 บริษัทสินเชื่อมากกว่า 100 แห่งถูกปิด พักกิจการ หรือถูกขายต่อ ผู้บริหารระดับสูงก็โดนผลกระทบด้วย เช่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเมอร์ริล ลินช์และซิตีกรุ๊ปลาออกห่างกันไม่ถึงสัปดาห์ สถาบันอื่น ๆ ก็ต้องควบรวมกิจการเพื่อความอยู่รอด
วิกฤตซับไพรม์ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในภาคการเงินและทำให้นักลงทุนพากันถอนเงินออกจากพันธบัตรที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อที่มีความเสี่ยงและหุ้นที่มีราคาไม่แน่นอน และนำไปเก็บสะสมในรูปของสินค้าโภคภัณฑ์แทน การเก็งกำไรในราคาล่วงหน้าของสินค้าต่าง ๆ หลังจากตลาดอนุพันธ์ล่ม ทำให้เกิดปัญหาวิกฤติราคาอาหารโลกและภาวะน้ำมันขึ้นราคานักเก็งกำไรที่ต้องการผลตอบแทนในระยะสั้นถอนเงินจำนวนหลายล้านล้านดอลลาร์จากหุ้นและพันธบัตร และนำบางส่วนไปลงทุนในอาหารและวัตถุดิบต่าง ๆ
ประมาณกลางปี 2551 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญทั้งสาม (ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์, NASDAQ และ S&P 500) เข้าสู่ภาวะตลาดหมี ในวันที่ 15 กันยายน 2551 ความกังวลใจต่าง ๆ เกี่ยวกับตลาดการเงินเป็นสาเหตุทำให้ดัชนีตกมากที่สุดตั้งแต่เหตุการณ์วินาศกรรมในปี 2544 เหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุหลักคือการประกาศล้มละลายของวาณิชธนกิจ เลห์แมน บราเตอร์ส นอกจากนี้ เมอร์ริล ลินช์ยังถูกบังคับให้รวมกิจการกับธนาคารแบงก์ออฟอเมริกาด้วยมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ และความกังวลใจเกี่ยวกับสภาพคล่องของเอไอจีทำให้มูลค่าในตลาดหุ้นตกลงมากกว่าร้อยละ 60 ในวันนั้น
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบกับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหลายอย่าง จีดีพีของสหรัฐอเมริกาถูกประเมินว่าจะหดตัวลงร้อยละ 5.5 ต่อปีในระหว่างไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2551 นายจ้างเลิกจ้างกว่า 2.6 ล้านตำแหน่งระหว่างปี 2551 ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 ในเดือนกันยายน 2551 จำนวนคนตกงานในสาขาการเงินสูงถึง 65,400 คนในสหรัฐ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 7.2 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 16 ปี
ต้มยำกุ้งจากไทยที่ทำให้ประเทศต่างๆ หวาดผวาและข่าวคนเสื้อแดงถูกรัฐบาลสังหารหมู่ทำให้ประเทศไทยโด่งดังติดอันดับโลกเมื่อปลายปี 2010 นี่ไม่ใช่วิกฤตทางการเงินอย่างที่เคยเกิดขึ้นแต่เป็นวิกฤตทางการเมืองหรือ “ต้มยำกุ้ง” มิติใหม่ (Politic new dimension)
วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2554 เป็นชุดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง ซึ่งมีความเห็นต่อต้านและสนับสนุนทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อ เสถียรภาพทางการเมืองในไทย ทั้งยังสะท้อนภาพความไม่เสมอภาคและความแตกแยก ระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท[5] การละเมิดพระราชอำนาจ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งบั่นทอนการเมืองไทยมาเป็นเวลาช้านาน
ในปี พ.ศ. 2548 เริ่มมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง ซึ่งมีความเห็นว่าทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ควรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกลุ่มนี้นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร ส่งผลให้ฝ่ายทหารคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ก้าวขึ้นสู่อำนาจ และเข้ามามีบทบาททางการเมือง ส่งผลให้ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ลาออกจากองคมนตรี มาเป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 หลังจากนั้นก็ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกลับขึ้นเป็นองคมนตรีตามเดิม ซึ่งในช่วงดังกล่าว มีกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารหลายกลุ่ม นำโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) เพื่อขับไล่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์
ต่อมา พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางการเมืองกับทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 และจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเคยเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณ ชินวัตร ก่อนเหตุการณ์รัฐประหารมาแล้ว กลับมาชุมนุมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง ก่อนจะยุติการชุมนุม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน
ผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ปรากฏว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมัยรัฐบาลทักษิณ สมัคร และสมชาย ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้กลุ่ม นปช.กลับมาชุมนุมอีกครั้ง เพื่อกดดันให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี วิกฤตการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป โดยไม่มีทีท่าว่าจะยุติ
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษายึดทรัพย์มูลค่า 46,000 ล้านบาทของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เย็นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ระเบิดเอ็ม 67 ถูกโยนมาจากมอเตอร์ไซค์ด้านนอกธนาคารกรุงเทพสามสาขา ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มผู้ประท้วง นปช. ได้มาบรรจบกันที่กรุงเทพเพื่อแสดงความต้องการให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศเลือกตั้งใหม่ การเคลื่อนไหวดังกล่าว นำโดย นปช. ประกอบด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตย กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ต่อมา ได้มีการประท้วงโดยการรับบริจาคเลือดของผู้ชุมนุมไปเทด้านนอกของบ้านพักนายกรัฐมตรีอภิสิทธิ์
สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นเมื่อวันทั้ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยผู้ชุมนุมได้เข้ายึดสถานีเผยแพร่โทรทัศน์ ทำให้นายกรัฐมนตรีกล่าวให้สัญญาว่าจะฟื้นฟูประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ วันที่ 11 เมษายน การปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและทหารทำให้มีผู้เสียชีวิต 18-19 คน (ในจำนวนนี้มีทหาร 1 นาย) และอีกมากกว่า 800 คน ได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 15 เมษายน ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 24 ศพ
ความตึงเครียดยังดำเนินต่อไป เมื่อมีการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลปรากฏขึ้นพร้อมกับการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล วันที่ 22 เมษายน เหตุระเบิดหลายครั้งในกรุงเทพมหานครทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 85 คน ในจำนวนนี้มีชาวต่างชาติ 4 คนรวมอยู่ด้วย เหตุระเบิดบางส่วนเกิดขึ้นจากระเบิดมือ รัฐบาลกล่าวหาว่าพฤติการณ์ดังกล่าวมาจากที่พักของกลุ่มคนเสื้อแดง คำกล่าวหาดังกล่าวได้รับการปฏิเสธอย่างชัดเจนจากผู้นำการชุมนุม ผู้ซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นแผนการที่รัฐบาลและฝ่ายทหารเตรียมไว้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงกับการชุมนุมโดยสงบของคนเสื้อแดง นปช.
วันที่ 3 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีประกาศว่าเขามีความต้องการจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน ซึ่งในวันรุ่งขึ้น ผู้นำการชุมนุมประกาศยอมรับข้อเสนอที่จะยุติการชมนุมเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปตามแผนกำหนดเดิม แต่ได้มีการเสนอรายละเอียดของแผนเพิ่มเติม เมื่อปรากฏชัดเจนแล้วว่าจะไม่มีกระบวนการทางกฎหมายดำเนินคดีกับผู้นำบางคนในรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สังหารกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ การชุมนุมจึงดำเนินต่อไป
วันที่ 14 พฤษภาคม ตำรวจและทหารพยายามที่จะล้อมและตัดที่พักหลักของกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งทำให้มีการปะทะกับกลุ่มคนเสื้อแดงและมีผู้เสียชีวิต 10 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 125 คน รวมทั้งผู้สื่อข่าวต่างชาติบางคน วันเดียวกัน นายทหารนอกราชการ พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ถูกยิงด้วยปืนไรเฟลซุ่มยิงจากพวก Snipers ของฝ่ายทหารระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติ วันรุ่งขึ้น ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 24 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 175 คน ผู้นำการชุมนุมเตือนว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจปะทุขึ้นเป็นสงครามกลางเมืองได้ ทหารได้ตั้งเขตกระสุนจริงขึ้นใกล้กับกลุ่มผู้ชุมนุมและยิงทุกคนในพื้นที่ที่พบเห็น
จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม จำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะกันตามท้องถนนเพิ่มขึ้นเป็น 35 ศพ โดยในจำนวนนี้ 1 ศพเป็นทหาร ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มในอีก 5 จังหวัดเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมจากต่างจังหวัดเดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานครเพิ่มเติม
วันที่ 19 พฤษภาคม กองทัพ พร้อมรถลำเลียงหุ้มเกราะเข้าโจมตีค่ายผู้ชุมนุม ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 11 คน และผู้สื่อข่าวชาวอิตาลี 1 คน ผู้นำกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งหมดยอมมอบตัวหรือพยายามหลบหนี ได้เกิดเหตุจลาจลทั่วกรุงเทพมหานครเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมถูกบีบบังคับให้ออกจากค่าย ได้มีการวางเพลิงซึ่งทำลายศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์และอาคารอื่น ๆ
ยอดความสูญเสียทั้งหมดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม อยู่ที่ 85 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,378 คน
วันแห่งประวัติศาสตร์ที่โลกต้องจารึกให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อแดงถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในการแสวงหาความเป็นธรรมจากคนไทยที่ไม่ยอมเป็นทาส ให้ต้องถูกข่มเหงรังแกอย่าง อยุติธรรม พวกเขาจึงต้องลุกขึ้นสู้ ไม่ใช่เฉพาะเพื่อคนเสื้อแดงแต่เพื่อทุกคนที่เป็นคนไทยทั้งประเทศ เมื่ออำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทย ต้องถูกโจรกบฎปล้นขโมยไปทั้งๆ ที่อำนาจนี้พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนี้ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเท่านั้น
เสื้อแดงได้ชุมนุมอย่างสงบอหิงสาโดยปราศจากอาวุธทุกครั้งเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม แต่ก็ถูกขัดขวางข่มเหงรังแกจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ตำรวจทหาร รวมทั้งรัฐบาล ดำเนินมาตรการข่มขู่รังควานและกลั่นแกล้งการชุมนุมที่เสื้อแดงปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและตามที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองทุกประการ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมจากทางการบ้านเมือง แม้จะได้แจ้งความฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและดำเนินคดีทางศาลทุกครั้งที่เสื้อแดงถูกกลั่นแกล้ง แต่กลับถูกเพิกเฉยหน่วงเหนี่ยวละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาโดยตลอด
เมื่อเสื้อแดงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและไม่สามารถพึ่งหน่วยงานราชการและศาลยุติธรรมภายในประเทศได้ ทั้งยังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพพลเมืองของประเทศอยู่บ่อยๆหลายครั้งหลายหนด้วยความฮึกเหิมได้ใจของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองและจากรัฐบาลที่คอยบงการสนับสนุนอยู่ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นเหตุให้เสื้อแดงต้องเสียชีวิตถึง ๙๑ ศพและบาดเจ็บกว่า ๒ พันคนจากคำสั่งให้ปราบปรามประชาชนของนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่คิดว่าตัวเองนั้นมีใบอนุญาตสั่งฆ่าคน(License to kill)ได้หารู้ไม่ว่า นั่นคือการก่ออาชญากรรมอย่างสำคัญที่เป็นการละเมิดกฎหมายและละเมิดอำนาจศาลเสียเอง
ดังนั้น เสื้อแดงจึงจำเป็นต้องไขว่คว้าหาความยุติธรรมจากต่างประเทศที่โลกยังปราณีมีให้อยู่ เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และป้องกันสิทธิและเสรีภาพของตนที่ถูกรัฐบาลไทยละเมิดนั่นคือ การดำเนินคดีฟ้องร้องนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพวก ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ศาลโลก) โดยมอบหมายให้สำนักงานทนายความระหว่างประเทศ “อัมสเตอร์ดัมและพีรอฟฟ์” จากประเทศอังกฤษ ซึ่งมีนายโรเบิร์ท อัมสเตอร์ดัม เป็นหัวหน้าทนายความของคนเสื้อแดง ให้คำปรึกษาร่างคำฟ้องและดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลโลก ดังเป็นที่ทราบตามข่าวที่ปรากฏไปทั่วโลก
๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ (2011) เป็นวันแถลงข่าวที่สำนักงานทนายความระหว่างประเทศ “อัมสเตอร์ดัมและ พีรอฟฟ์” จากประเทศอังกฤษ จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีการถ่ายทอดวีดิทัศน์ลิงค์ไปทั่วโลก รวมทั้งทั่วประเทศไทย เพื่อชี้แจงรายละเอียดให้คนไทยทั้งประเทศและคนทั้งโลกได้ทราบความจริงที่รัฐบาลไทยโดยนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่สมควรเรียกว่า “อาชญากร” มากกว่า ได้ออกคำสั่งใช้กำลังทหารพร้อมด้วยอาวุธสงคราม (M16) ครบมือใช้กระสุนจริง รถถังและเฮลิคอปเตอร์โยนระเบิดแก็สพิษทางอากาศ พร้อมกับให้หน่วยทหารแม่นปืน (Sniper) ใช้กระสุนพิเศษซุ่มยิงจากอาคารสูง ในการก่ออาขญากรรมปราบปรามประชาชนทำให้คนเสื้อแดงต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏหลักฐานพยานเอกสารเป็น ภาพถ่าย คลิปวีดิทัศน์ที่ได้รับจากฝ่ายทหาร ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และประชาชนทั่วไป ผลการสืบสวนพิสูจน์หลักฐานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) และถ้อยคำให้การของพยานผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมากมาย
ดูเหมือนว่า นายกรัฐมนตรีไทยเริ่มจะมีความรู้สึกหวั่นไหวขึ้นมาบ้างว่า การทำตัวไม่รู้ร้อนรู้หนาวจากคำสั่งฆ่าประชาชนของตนเริ่มจะทำให้ตัวเองต้องถูกขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศโดยหนีไม่พ้นจึงเริ่มหวาดผวาเพราะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทำให้ต้องรับผิดชอบอาชญากรรมที่ตนสั่งการเป็นคนสุดท้ายอย่างแน่นอนและตนเองจะต้องเป็นคนแรกที่ต้องขึ้นศาล ส่วนผู้ที่รับคำสั่งคนต่อๆ มาก็หนีความรับผิดชอบไม่พ้นเหมือนกัน เพราะการรับคำสั่งเป็นทอดๆก็เหมือนกับช่วยกันก่ออาชญากรรมร่วมกันไม่มีใครจะหนีนรกกรรมที่ตนมีส่วนร่วมฆ่าคนได้ เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น
เสื้อแดงโมเดลหรือต้มยำกุ้งมิติใหม่ ได้กลายเป็นมิติใหม่สำหรับประชาชนในหลายประเทศยึดเป็นแนวทางในการต่อสู้ทางการเมือง เพื่อปลดแอกจากเผด็จการที่ครองอำนาจมายาวนานหลายสิบปีในประเทศต่างๆ อย่างน้อยเกือบ ๑๐ ประเทศ เช่น อียิปต์ (Egypt/Cairo) ลิเบีย (Libya/Tripoli) บาห์เรน (Bahrain/Manama) เยเมน (Yemen/Sanaa) แอลจีเรีย (Algeria/Algiers) ตูนีเซีย (Tunisia/Tunis) อิหร่าน Iran/Tehran) โมร็อกโก (Morocco/Rabat) & ประเทศไทย (Thailand/Bangkok)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยหรือเสื้อแดงโมเดล ได้เริ่มต้นการต่อสู้เพื่อทวงคืนประชาธิปไตยที่ถูกทหารปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่นำพลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น เข้าเฝ้าถวายรายงานต่อพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร ได้มีพระราชดำรัสว่า
“สงสารนายกทักษิณ เขาทำงานดี..... ต่อไปอย่าทำอีกแล้วกัน เราต้องการประชาธิปไตย รัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้ง”
หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า “ต่อไปอย่าทำอีกแล้วกัน” หมายความว่าอย่างไร ก็คงอธิบายได้ชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา การที่จะทรงห้ามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เกิดหรือยุติเสียนั้นหาเป็นประโยชน์แต่อย่างไรไม่ ทรงไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินั้น แน่นอน แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมืองไม่ต้องการให้เกิดกลียุคเกิดการจลาจลขึ้นทั่วไป จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่อาจต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บได้ จึงต้องทรงยินยอม ทำตามที่พลเอกเปรมและคณะปฏิวัติต้องการทุกอย่าง ทรงต้องรับความขมขื่นไว้ในพระราชหฤทัยตลอดมา โดยคนไทยส่วนใหญ่หาได้รู้ความจริงเรื่องนี้ไม่
สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความยึดมั่นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อระบอบประชาธิปไตยอีกประการหนึ่ง เมื่อตอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗ ทรงกลับมีพระราชดำรัสว่า “ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราขทานนายกฯพระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าไปอ้างมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด มันอ้างไม่ได้ มาตรา ๗ มี ๒ บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณี หรือตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯพระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ พูดแบบ มั่ว แบบไม่ ไม่ ไม่มีเหตุผล”
การต่อสู้ของเสื้อแดงโมเดล ยังคงยึดมั่นกับการไม่ใช้กำลัง ต่อสู้อย่างสงบอหิงสา ซึ่งทำให้คนไทยทั้งประเทศเห็นด้วยและให้การสนับสนุนเพื่มมากขึ้นจนแดงทั้งแผ่นดิน รวมทั้งประเทศต่างๆ ที่กำลังลุกฮือขึ้นต่อสู้ขับไล่เผด็จการอยู่ขณะนี้ต่างก็ใช้เสื้อแดงโมเดลแม้จะต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ตูนีเซียและอียิปต์เป็น ๒ ประเทศแรกที่ประสบความสำเร็จทำให้จอมเผด็จการคือประธานาธิบดีต้องหนีออกไปนอกประเทศ ส่วนลิเบียก็กำลังต่อสู้กับประธานาธิบดีซึ่งยังคงดื้อด้านใช้กำลังทหารจัดการกับผู้ชุมนุมประท้วงกันอยู่
โลกจะสงบลงได้ถ้าคนในประเทศมีความเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเท่านั้นจะทำให้ความเป็นธรรมเกิดขึ้น จะต้องไม่มีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดใช้อำนาจเอาเปรียบคนอื่น รัฐบาลจะต้องเป็นของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนเท่านั้น ความสงบสุขร่มเย็นจึงจะเกิดขึ้นได้ไม่เช่นนั้นอย่าได้หวังเลยว่าเราจะอยู่กันได้อย่างสงบ