วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ถึงเวลาเข้าแทรกแซงประเทศไทยได้หรือยัง?

ถึงเวลาเข้าแทรกแซงประเทศไทยได้หรือยัง?
โดย Andrew Spooner 21 มีนาคม 2011
แปล เวทย์ เธียรธโนปจัย

องค์การสันนิบาตชาติอาหรับและฝ่ายตะวันตกที่กำลังทิ้งระเบิดโจมตีลิเบียอยู่ขณะนี้ตามมติที่ ๑๙๗๓ ของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ที่ได้ตัดสินใจเข้าแทรกแซงเพื่อป้องกันชีวิตพลเรือนชาวลิเบียที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแบบเสรีนิยมแต่ต้องถูกจำกัดขอบเขตไว้ในวงล้อมการต่อสู้กำลังถูกทดสอบอย่างเต็มที่

จุดปะทุเดือดเอเซียแห่งนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าไม่ใช่สถานที่ที่จะเข้าไปชี้ถูกหรือผิดในการเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของลิเบีย โทนี่แบร์ (Tony Blair) อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เป็นผู้ยกกรณีการเข้าแทรกแซงดังกล่าวที่นั่น ในขณะที่ โอเว่น โจนส์ (Owen Jones) ผู้เขียนบล๊อกเกอร์และนักเขียนชาวอังกฤษหัวเอียงซ้ายก็ได้ยกปัญหาบางประการในการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของลิเบียด้วย

ถ้าเรายกหลักการพื้นฐานของทั้งมติ ๑๙๗๓ คณะมนตรีความมั่นคงและข้อโต้แย้งส่วนสำคัญโดยผู้ที่เข้าแทรกแซง -“เราจำเป็นต้องปกป้องชีวิตพลเรือน” บางคนจะมีคำถามต่ออีกว่า แล้วทำไมจึงไม่มีการเข้าแทรกแซงกรณีของประเทศไทย?

จากบันทึกที่มีอยู่ ผมพิจารณาการฆ่าหมู่ที่กรุงเทพ เมื่อปี ๒๐๑๐ โดยสรุปได้ว่า – คือการสังหารหมู่แน่นอน ในความเห็นของผมนั้นหลักฐานมีอยู่แจ้งชัดท่วมท้น – พลเรือนต้องตกเป็นเป้าและใช้วิธีการ อย่างเช่น สไนเปอร์ (Snipers) พลแม่นปืน วางแผนเพื่อสังหารพวกเขาโดยเฉพาะ ระดับกองกำลังที่ใช้กับพลเรือนเหล่านั้นไม่ได้เป็นสัดส่วนที่สมดุล หลากหลาย และเผยให้เห็นถึงระดับความโหดร้ายทารุณที่ หากเป็นพม่า เกาหลีเหนือ อิหร่าน หรือชาวลิเบีย นิ้วที่กดไกปืน จะสำแดงให้โลกต้องรับรู้ถึงความโหดร้ายทารุณและบังคับให้ต้องกระทำตอบโต้ในที่สุด

แน่ละ บางคนที่ปฏิเสธในเรื่องการฆ่าหมู่จะพูดว่า “เสื้อแดงมีอาวุธ” ซึ่งที่สุดแล้วไม่ใช่ จากหลักฐานส่วนใหญ่ที่ปรากฎให้เห็นไม่มีอะไรเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวใดๆเลย พวกเขามีเพียงระเบิดขวดบรรจุเบนซิน หนังสติ๊กกับก้อนหิน คำถามที่จะมีในบรรทัดต่อไปก็เป็นเรื่องปกติ “แล้วชายชุดดำเกี่ยวอะไรด้วย” แน่ละไม่เกี่ยว ไม่มีแม้แต่คนเดียวในกลุ่มที่ลึกลับนี้ ทั้งจำนวน สังกัดและเหล่าไม่เป็นที่เปิดเผย ไม่มีใครถูกจับได้ ชายชุดดำคงเป็นเพียงสัญลักษณ์เหมือนเช่น เสธ.แดงที่ใช้พูดกันถึงสิ่งที่เลยเถิดเกินความเป็นจริงของการสังหารหมู่ในกรุงเทพฯ ชายชุดดำจึงยังคงถูกใช้เพื่อเป็นการปลุกผีโดยพวกที่กระหายอยากให้ครอบคลุมถึงการก่ออาชญากรรมของรัฐบาลไทย

ดังนั้น ผู้ที่รับว่ารัฐบาลไทยทำร้ายประชาชน ยังคงคุกคามประชาชนและประกาศใช้กฎหมายบังคับเพื่อสังหารหมู่ต่อไป แล้วอะไรต่อไปหรือ? ฝูงบินทิ้งระเบิดของอังกฤษบินอยู่เหนือฟ้ากรุงเทพฯ? กำลังพลร่มของฝรั่งเศสเตรียมพร้อมลุยอยู่ที่เชียงใหม่? แน่ละไม่ใช่ทั้งสิ้น ความนึกคิดเช่นนั้นแท้จริงพิจารณาให้ดีไม่ผิดที่ว่าเป็นเรื่องเพ้อเจ้อของคนเสียสติ

แต่แจ่มชัด ถ้าท่านรับว่ามีการสังหารหมู่เกิดขึ้น มีการดำเนินการกรณีที่บางรูปแบบจะต้องดำเนินการ ในขณะที่ระบบปกครองของรัฐบาลเป็นแบบธุระไม่ใช่ไม่มีการสอบสวนการก่ออาชญากรรมสังหารหมู่ในกรุงเทพฯแต่กลับพยายามปกปิด มีการรายงานผลการสอบสวนที่กลับไปกลับมาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(THAIFBI) รัฐบาลไทยปฏิเสธว่าทหารยิงนักข่าวต่างประเทศและผู้ช่วยพยาบาล คงจะเป็นที่น่าประทับใจมากกว่าถ้าพวกเขาไม่เผยสิ่งชั่วร้ายเสื่อมโทรมที่อยู่ในใจของระบบการปกครองไทย

ถึงกระนั้นก็ตาม แม้จะมีการใช้ สไนเปอร์ (Snipers) เครื่องทรมาน นักโทษการเมือง การเซ็นเซอร์ และการปกปิดเป็นเครื่องมือ ประชาคมระหว่างประเทศยังคงเงียบสนิท ไม่มีแม้กระทั่งการประนามอย่างรุนแรงจากนักเคลื่อนไหวแทรกแซงที่มีต่อรัฐบาลไทยและต่อพลเรือนไทยที่เสียชีวิต จะมีปรากฎให้เห็นเพียงส่วนน้อยที่แสดงความโกรธพอใช้เป็นเครื่องวัดระดับประเทศ

และมีการกระทำอีกมากมายหากจะใช้กันทั้งระยะไกลและใกล้ของมาตรการแทรกแซงทางทหารที่ประชาคมระหว่างประเทศอาจจะบังคับใช้ในประเทศไทย โดยเริ่มจากการเตือนประเทศไทยต่อความล้มเหลวที่ไทยไม่ใส่ใจในการตรวจสอบการเสียชีวิตของพลเริอน ก่อนที่คณะมนตรีความมั่นคงจะใช้มาตรการที่ ๒ บังคับและก่อนที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะเริ่มต้นพิจารณาคดี ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี อังกฤษและสหรัฐอเมริกาทั้งคู่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง และมีความแน่นอนที่จะใช้ตำแหน่งกดดันประเทศไทยในลักษณะนี้ อันเป็นแบบอย่างชัดเจนที่ได้เริ่มใช้กับการสอบสวนในลิเบีย (เช่นเดียวกับประเทศไทย-ทั้ง ๒ ยังไม่ได้เป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ) เพียงแต่ได้รับการอ้างถึง ICC โดยคณะมนตรีความมั่นคง

นี่สามารถจะพิจารณาได้ว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทยหรือไม่? หามิได้ เป็นโอกาสของประเทศไทยต่างหากที่จะใช้เป็นเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างประเทศและการเป็นหุ้นส่วนร่วมที่ได้ลงนามกันไว้แล้ว

นอกจากนี้ เราทุกคนรู้ว่าไม่มีสิ่งใดที่เกือบจะใกล้ถึงการเข้าแทรกแซงโดยสามารถสรุปได้ความที่นี่ซึ่งเป็นเพียงภาพลวงตา ประชาคมระหว่างประเทศไม่มีสิ่งจูงใจที่จะผลักดันพันธมิตรน้อยไปกว่าพุ่งเป้าตรงไปสู่ความรับผิดชอบ ข้อโต้แย้งโดยปกติที่เกี่ยวพันทางด้านศีลธรรมกับวัฒนธรรมจะถูกวางไว้ก่อน (ท่านคงทราบ ข้อโต้แย้งเดียวกันนี้ว่าได้ถูกยกเลิกทั้งหมดเมื่อฝ่ายตะวันตกเริ่มทิ้งระเบิดใส่เผด็จการที่ชั่วร้ายในสัปดาห์ดังกล่าว) เพื่อเป็นการพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องจากการที่ไม่เข้าแทรกแซงรูปแบบใดก็ตามและไม่ว่าทูต สื่อมวลชน และ ผู้ปฏิบัติงานด้านองค์กรเอกชนที่มีกรุงเทพฯเป็นฐานส่วนใหญ่ (ไม่ใช่ทั้งหมด) นำไปสู่การมีส่วนช่วยอย่างเงียบๆก่อให้เกิดอาชญากรรมที่รัฐบาลไทยมีส่วนอย่างสำคัญด้วยการดำเนินการอย่างแทบไม่ต้องใช้ความพยายามเลย

หนึ่งในบทเรียนหยาบๆ ที่สามารถดึงมาดูจากการแทรกแซงลิเบียปัจจุบันก็คือ จะไม่มีการแทรกแซงเช่นว่าเกิดขึ้นเว้นแต่มีการคุกคามที่ทำให้ประชาชนนับหมื่นต้องเสียชีวิต ทุกคนทราบดีว่า กัตดาฟี (Gaddafi) เป็นคนวิกลจริต แต่กว่าปีที่ผ่านมาการก่ออาชญากรรมของเขาถูกกลบด้วยน้ำมันจำนวนมหาศาลและสัญญาการซื้ออาวุธ ประชาคมระหว่างประเทศไม่สนใจปัญหาที่เกิดขึ้นและล้มเหลวในการผลักดันลิเบียอย่างละมุนละม่อมไปสู่ระบอบประชาธิปไตยมากขึ้นๆ คำถามที่น่าสยดสยองและน่าสะพรึงกลัวอย่างแท้จริงเกี่ยวกับประเทศไทยก็คิอ จะต้องให้มีการหลั่งเลือดมากขึ้นอีกเท่าใดก่อนที่ประชาคมระหว่างประเทศจะรับรู้คำร้องและกระทำสิ่งที่ถูกต้อง? หรือจะเป็นแค่เศษเสี้ยวของความรับผิดชอบและสิทธิมนุษยชนที่เป็นได้เพียงส่วนประกอบของแฟชั่นล่าสุดที่จะใช้โดยผู้ที่มีความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยม (interventionists) เท่านั้นเสมือนหนึ่งอยู่ในฉากภาพยนตร์ ตรงที่ "กู-สนใจ" ก็เพียงพอแล้วหรือ?

ประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์ท้ายที่สุดจะเป็นผู้พิพากษาของเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น